ไขพฤติกรรม "นอนกัดฟัน" ของลูกน้อย 1. สภาพจิตใจ ที่เกิดจากการความตึงเครียด ความวิตกกังวล ก็มีส่วนไปกระตุ้นให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้ ปัสาวะรดที่นอน นอนกรนและโรคทางเดินหายใจอุดกั้นทำให้หยุดหายใจเป็นพักๆขณะหลับ และ โรคสมาธิสั้น ซึ่งสามารถเกิดอาการควบคู่กับการ นอนกัดฟันในตัวเด็กได้ ผู้ปกครองควรสังเกตุด้วยว่าเด็กมีโรคอื่นๆเกิดร่วมหรือไม่และควรนำลูกไปพบแพทย์เพื่อรักษาโรคนั้นๆด้วย เพราะกล้ามเนื้อบดเคี้ยวเมื่อยล้าจากพฤติกรรมนอนกัดฟัน หรือบ่นปวดศีรษะบ่อยๆ อาการนี้อาจเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าลูกนอนกัดฟัน ถึงโพรงประสาทฟันเลยก็ได้ ทั้งนี้ โครงสร้างของฟันภายนอกจะประกอบไปด้วย เคลือบฟัน เนื้อฟัน และเส้นประสาทที่อยู่ตรงกลาง เมื่อได้รับการ สึกกร่อนมากเกิน ผลที่จะได้รับ ก็คือ เกิดอาการเสียวฟัน ฟันบิ่นแตก และฟันร้าว หรือกัดลิ้น กัดแก้ม เกิดเป็นแผลในปากบ่อยๆเป็นต้น เพื่อช่วย ป้องกันฟันสึกและลดอาการปวดเมื่อยขากรรไกรและปวดศีรษะ อาจจะจำเป็นต้องใส่เฝือกสบฟันในขณะนอน ทั้งยังลดเสียงกัดฟันได้ด้วย" คุณหมอ อธิบายถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการนอนกัดฟัน |
|||||
พฤติกรรมนอนกัดฟัน ในบางครั้งไม่มีเสียงดังก็ได้ เพราะเป็นแบบกัดฟันแน่นๆ ไม่ใช่กัดแบบฟันถูไปถูมา ถ้าเป็นแบบนี้ก็จะสังเกตุยากมากเพราะไม่มีเสียงดังให้ได้ยิน ต้องพามาให้ทันตแพทย์ช่วยตรวจหาดูว่ามีฟันที่สึกหรือไม่ หรืออาจสังเกตุจากอาการปวดขากรรไกรหรือปวดศีรษะบ่อยๆแทน
อ้างอิง http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000090076
|
ไขพฤติกรรม "นอนกัดฟัน" ของลูกน้อย
