ฝึกอย่างไรให้ลูกมีวินัย
การฝึกระเบียบวินัย เป็นการพัฒนาให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดี เป็นที่ยอมรับของสังคมและสามารถควบคุมตนเอง
ซึ่งพ่อแม่จะต้องเรียนรู้และฝึกอบรมกับลูกให้เหมาะสมและสม่ำเสมอ จะช่วยให้ทุกคนในครอบครัวสามารถอยู่
ร่วมกันได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
ระเบียบวินัยช่วยในการพัฒนาเด็กอย่างไร
1. สามารถควบคุมตนเอง
การอาละวาดลงมือลงเท้าของเด็ก มักเกิดจากความรู้สึกโกรธผิดหวังอิจฉาและกลัว พ่อแม่ควรเป็นผู้ที่ช่วยเด็กให้สามารถควบคุมอารมณ์
โดยแสดงออกในทางที่เหมาะสม เช่น โกรธและทุบตีคน ให้เปลี่ยนมาทุบตีตุ๊กตาหรือหมอนแทน
2. สามารถเรียนรู้เคารพในสิทธิผู้อื่น
ควรสอนเด็กให้รู้จักใช้คำพูด เช่น ขอโทษ ขอบคุณ เคาะประตูก่อนเข้าห้อง ขออนุญาตก่อนหยิบของคนอื่นไปใช้ ไม่รบกวนสมาธิของผู้อื่น ฯลฯ
3. สามารถแสดงความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม
เมื่อมีการขัดแย้งระหว่างพี่น้อง พ่อแม่ควรเป็นผู้ไกล่เกลี่ยให้เข้าใจกัน ฝึกให้แสดงความรู้สึก บอกถึงชอบหรือไม่ชอบในการกระทำของผู้อื่น
ให้รู้จักขอโทษ ซึ่งกันและกัน เพื่อขจัดความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นจากความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม
4. สามารถให้ความนับถือตนเองได้
เด็กๆย่อมต้องการความสนใจและคำชมจากพ่อแม่ยามที่เขาสามารถประพฤติตนได้ตามที่พ่อแม่คาดหวัง การชมจะเป็นแรงเสริมให้อยากทำดีมากขึ้น
อีกทั้งยังเป็นการสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจที่สามารถทำได้
5. สร้างความมั่นใจให้กับตนเอง
ควรเด็กฝึกให้รู้จักรับผิดชอบตนเอง เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ฯลฯ และรับผิดชอบงานบ้านเล็กๆน้อย เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะช่วยให้เด็กได้พัฒนา
ความมั่นใจในการพึ่งตนเอง
6. สามารถพัฒนาเป็นอุปนิสัยรักงาน
ควรฝึกให้เด็กรับผิดชอบเรื่องส่วนตัว และงานบ้านจนเกิดเป็นนิสัยติดตัวไปจนโต จะทำให้เด็กประสบความสำเร็จในการทำงานทั้งที่บ้านและโรงเรียน
ตลอดจนในด้านหน้าที่การงานเมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
การฝึกระเบียบวินัยจะได้ผล ต้องประกอบด้วย
1. ให้ความรัก
เด็กทุกคนปรารถนาที่จะรู้ว่าเขายังเป็นที่รักของพ่อแม่อยู่เสมอ โดยเฉพาะเด็กเล็กยังต้องการความมั่นใจจากการกอด จูบ ยิ้ม และชมเชย
ยามเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดีตามที่พ่อแม่คาดหวัง
2. รับฟังอย่างตั้งใจ
เด็กทุกคนย่อมต้องการความสนใจจากพ่อแม่ โดยเฉพาะเวลาที่เขาพูดคุยด้วย เขาต้องการให้พ่อแม่รับฟังด้วยความตั้งใจ พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกด้วย
การหาเวลาว่างพิเศษในแต่ละวันเพื่อจะได้มีโอกาสพูดคุยกัน เช่น ขณะนั่งรถเพื่อเดินทางไปโรงเรียน ขณะช่วยทำงานบ้าน หรือช่วงเวลาก่อนนอน ฯลฯ
3. ให้ความเข้าใจ
เด็กเล็กต้องการรู้ว่าเขามีพ่อแม่อยู่ใกล้ชิดตลอดเวลา แต่เด็กโตต้องการความเป็นส่วนตัวพอๆ กับการออกไปนอกบ้านกับเพื่อน พ่อแม่ควรรับฟังเหตุผลและ
สังเกตลูกอย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงของลูก
4. ให้รางวัลเมื่อทำดี
ควรให้คำชมเชยทุกครั้งที่เด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อคงไว้ซึ่งพฤติกรรมนั้น เด็กเล็กต้องการการยิ้ม กอด จูบ หรือแม้แต่คำขอบคุณจากพ่อแม่
แต่เด็กโตต้องการคำชม สิทธิพิเศษ เช่น การให้ของหรือเงิน ออกไปหาเพื่อน
5. ส่งเสริมให้เป็นอิสระ
เมื่อเด็กเข้าใจและร่วมมือในการวางขอบเขต เด็กจะเรียนรู้การควบคุมตานเอง เพื่อก้าวสู่ความเป็นตัวของตัวเอง อนุญาตให้เด็กร่วมแสดงความคิดเห็น
กับพ่อแม่ เด็กโตเพิ่มความรับผิดชอบมากขึ้น เพื่อให้ได้ผลดีต่อการวางขอบเขต ให้กำลังใจ และการกระตุ้นให้ยอมรับความผิดหวังที่เกิดขึ้นในบางช่วง
ของชีวิตและพร้อมที่จะต่อสู้ต่อไป
6. ให้แสดงความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม
แสดงให้เด็กรู้ว่าพ่อแม่เข้าใจความรู้สึกของเขา รู้ว่าเขากำลังโกรธ ผิดหวัง น้อยใจ ยอมรับอารมณ์ ของลูก ให้เขาสามารถพูดบอกความรู้สึกแทนการกระทำ
ที่ไม่เหมาะสม ขณะเดียวกันลูกก็สามารถยอมรับเวลาที่พ่อไม่เป็นอารมณ์ได้เช่นกัน
7. ส่งเสริมความรับผิดชอบ
มอบหมายงานให้ทำตามความเหมาะสมของแต่ละวัย จำกัดเวลาให้เด็กรู้ว่าจะต้องทำงานเสร็จเมื่อใด ตรวจให้แน่ใจว่าเด็กได้ทำงานเสร็จจริง
เน้นการกระทำมากกว่าคุณภาพ พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี
ถ้าท่านต้องการให้ลูกตรงต่อเวลา ท่านต้องตรงต่อเวลาเสมอ
ถ้าท่านต้องการให้ลูกรู้จักเก็บข้าวของ ท่านต้องทำให้ดูเป็นแบบอย่าง
ถ้าท่านต้องการให้ลูกพูดจาไพเราะ ท่านต้องพูดจาอ่อนหวานกับลูก
ถ้าท่านต้องการให้ลูกสุภาพ ท่านต้องยกย่องเขาก่อน
ถ้าท่านต้องการให้ลูกยอมรับกฎเกณฑ์ ท่านต้องต้องควบคุมตนเองได้ดี
ขออภัยด้วยคัดลอกมาจากที่ไหนจำไม่ได้จ้ะ
อ้างอิง http://www.kamloahealthcenter.com/index.php?mo=3&art=231681