ขวดพลาสติกพิชิตยุงลาย
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและมีแนวโน้ม
รุนแรงมากขึ้น และปัจจุบันในเขตจังหวัดบุรีรัมย์กำลังประสบปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก
เป็นอันดับต้นๆของประเทศ ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออกดังกล่าว เนื่องจากประชาชน
ยังขาดความรู้และมีพฤติกรรมในการควบคุมป้องกันโรคที่ไม่ถูกต้อง ตลอดจนการดูแลสุขภาพ
เบื้องต้นเมื่อเจ็บป่วยรวมทั้งขาดการมีส่วนร่วมของบุคคลครอบครัว ชุมชนในการควบคุมโรคจึงเป็น
เหตุให้โรคแพร่กระจายมากขึ้น การควบคุมและกำจัดยุงลายมีทั้งทางกายภาพ เช่น การปล่อยปลา
หางนกยูง หรือปลากัด ซึ่งถ้าเผลอตักออกก็ต้องหาใหม่ หรือปลาตายก็เกิดกลิ่นเหม็นต้องเทน้ำทิ้ง
ส่วนการใช้สารเคมี เช่น ทรายอะเบท จะมีราคาแพงและทำให้น้ำมีกลิ่นเหม็นประชาชนบางส่วน
ไม่นิยมให้ใส่ในน้ำกินหรือน้ำใช้ และกลัวผลแทรกซ้อนจากการใช้สารเคมี
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกหญ้าคา ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
จังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่รับผิดชอบ 8 หมู่บ้าน ประชากรในความรับผิดชอบ 3,693 คน ส่วนใหญ่ประกอบ
อาชีพทำนาและรับจ้างปีที่แล้วมีผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 2 ราย คิดเป็น 54 .15 ต่อแสนประชากร
โรงพยาบาลจึงได้คิด "โครงการขวดพลาสติกพิชิตยุงลาย” ขึ้นโดยการใช้ขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้ว
ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ที่ย่อยสลายได้ยากแต่หาได้ง่ายในปัจจุบัน นำกลับมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นการ
ลดขยะอีกทั้งมีวิธีการประดิษฐ์ได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เสร็จแล้วสามารถใส่ลงในภาชนะหรือโอ่งบรรจุน้ำ
ได้สะดวกสามารถดักจับเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ดี และเป็นการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกหรือ
เมื่อเกิดแล้วไม่ให้มีการระบาดมากขึ้น โดยหมู่บ้านเป้าหมาย คือ หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกหญ้าคา 8 หมู่บ้าน (หมู่บ้านต้นแบบบ้านหนองม่วง หมู่ 7
ตำบลยายแย้มวัฒนา) และระยะเวลาดำเนินงานเดือนตุลาคม 2553 - กันยายน 2554)
ภาพ 1 ร่วมกันคิดทำโครงการขวดน้ำพลาสติกพิชิตยุงลาย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ
3. เพื่อนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์เป็นการลดขยะและลดภาวะโลกร้อนจากการกำจัดขยะ
4. เพื่อลดอัตราการป่วยและป่วยตายของโรคไข้เลือดออก
5. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีกำจัดยุงลาย
ภาพ 2 การประสานงานภาคีเครือข่าย
1.3 การออกแบบผลงาน โดยการใช้ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้วมาประดิษฐ์เป็นอุปกรณ์
ดักลูกน้ำยุงลาย โดยมีการทดลองประดิษฐ์ 3 แบบ คือ
1.3.1 แบบที่ 1 เจาะรู 1 รู
1.3.2 แบบที่ 2 เจาะรู 2-3 รู
1.3.3 แบบที่ 3 เจาะรู 2-3 รู และพ่นสีดำส่วนปากขวดที่สอดไว้ (ไม่นิยมใส่ใน
ภาชนะบรรจุน้ำดื่ม)
ภาพ 3 ขวดน้ำพลาสติค - อุปกรณ์ดักลูกน้ำยุงลายแบบที่ 1 เจาะรู 1 รู
ภาพ 4 ขวดน้ำพลาสติค - อุปกรณ์ดักลูกน้ำยุงลายแบบที่ 2 เจาะรู 3 รู
ภาพ 5 ขวดน้ำพลาสติค - อุปกรณ์ดักลูกน้ำยุงลายแบบที่ 3 เจาะรู 3 รู
และพ่นสีดำส่วนปากขวดที่สอดไว้
2. ขั้นการดำเนินการ วิธีทำขวดพลาสติกพิชิตยุงลาย
2.1 หาขวดพลาสติกใช้แล้วมีฝาปิดที่สะอาดหลายๆใบ พร้อมมีดหรือกรรไกร
ภาพ 6 ขวดน้ำพลาสติคที่สะอาด พร้อมมีดและกรรไกร
2.2 เจาะรูที่ด้านข้างขวดพลาสติกด้านเดียวกัน 1-3 รูขนาดเท่ากับปากขวด
แล้วพักไว้ก่อน
ภาพ 7 เจาะรูด้านข้างขวดพลาสติกด้านเดียวกัน 1-3 รูขนาดเท่ากับปากขวด
2.3 นำขวดพลาสติกขวดใหม่จำนวนขวดเท่ากับจำนวนรูที่เจาะไว้ มาตัดก้นออก
เอาด้านปากขวดไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของความยาวขวด หรือถึงบริเวณส่วน
โค้งคอขวดและเอาฝาขวดออก แล้วสอดใส่ในรูด้านข้างขวดที่เจาะพักไว้
ให้ครบทุกรู
ภาพ 8 นำขวดพลาสติกขวดใหม่จำนวนเท่ากับจำนวนรูที่เจาะไว้มาตัด
เอาด้านปากขวดไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของความยาวขวด
2.4 ใช้สีสเปรย์ สีดำพ่นขวดด้านที่ตัดที่อยู่ในน้ำ
ภาพ 9 พ่นสีสเปรย์สีดำด้านที่ตัด
2.5 นำขวดที่ประกอบเสร็จเรียบร้อยแล้วไปลอยในน้ำที่มีลูกน้ำยุงลาย โดยเอียงให้น้ำ
เข้าไปในขวดจนถึงระดับเหนือปากขวดที่สอดไว้ในรูด้านข้างขวด ให้ลูกน้ำยุงลาย
ลอยเข้าไปและตายในที่สุด
ภาพ 10 นำขวดที่ประกอบเสร็จไปลอยในน้ำที่มีลูกน้ำยุงลาย
2.6 จัดทำเอกสารคู่มือประกอบด้วยชื่อผลงานนวัตกรรม วิธีการทำ วิธีการใช้
และประโยชน์ของผลงาน
3. ขั้นการประเมินผล
3.1 ผลงานจัดทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากใช้งานสะดวก
3.2 มีความคงทนใช้งานได้นาน
3.3 ไม่มีกลิ่นเหม็น
3.4 ประหยัดเพราะใช้วัสดุเหลือใช้ที่หาได้ง่าย
3.5 ประชาชนให้ความสนใจและชอบใช้มากกว่าใช้สารเคมี
ผลการดำเนินงาน
1. ขวดพลาสติกพิชิตยุงลายสามารถดักจับลูกน้ำยุงลายได้ดีเรียงตามลำดับดังนี้
1.1 เจาะรู 2-2 รูและพ่นสีดำ ดีที่สุด
1.2 เจาะรู 2-3 รู
1.3 เจาะรู 1 รู
2. ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ในหมู่บ้านที่ดำเนินการ
3. ประชาชนที่ใช้มีความพึงพอใจ
4. มีการเผยแพร่ให้ผู้สนใจทำไปใช้และขยายเครือข่ายการใช้ขวดพลาสติก
พิชิตยุงลาย ในหมู่บ้านใกล้เคียง
5. มีความร่วมมือทุกภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน
6. ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อสารเคมีกำจัดยุงลายลดลง
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ด้านหน่วยบริการ
1.1 เป็นสื่อการให้ความรู้และฝึกทักษะการกำจัดยุงลาย แก่ อสม. ประชาชนและ
ผู้สนใจทั่วไปในสถานบริการและชุมชน
1.2 เป็นนวัตกรมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีประโยชน์ ประหยัด
และมีประสิทธิภาพเหมาะสมนำไปเผยแพร่แก่ภาคีเครือข่ายอื่นๆ
1.3 น้ำหนักเบา พกพาสะดวก หาวัสดุอุปกรณ์ได้ง่ายเหมาะสมต่อการสอนและฝึกทักษะ
1.4 เป็นการให้บริการเชิงรุกเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน
ด้วยประชาชนเอง
2. ด้านผู้รับบริการ
2.1 สามารถจัดหาวัสดุและประดิษฐ์ได้เองโดยง่าย
2.2 สามารถนำไปใช้กับภาชนะหรือโอ่งบรรจุน้ำได้ทั้งน้ำดื่มและน้ำใช้
โดยไม่มีกลิ่นเหม็น
2.3 ประชาชนมีความพึงพอใจในการใช้
3. ด้านชุมชน
3.1 มีการนำขวดน้ำพลาสติกที่เหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นการกำจัดขยะ
ที่ย่อยสลายได้ยากในชุมชนอีกด้านหนึ่ง
3.2 เป็นการควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้เป็นอย่างดีจำนวนผู้ป่วยโรค
ไข้เลือดออกลดลง
3.3 มีการเผยแพร่นวัตกรรมให้แก่ภาคี เครือข่ายและชุมชนอื่นๆ นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
3.4 สร้างความสามัคคีในชุมชนในการร่วมมือกันดำเนินงาน
อ้างอิง ชื่อโครงการ : "ขวดพลาสติกพิชิตยุงลาย"
ชื่อหน่วยงาน : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกหญ้าคา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
จังหวัดบุรีรัมย์
ประเภทโครงการ : นวัตกรรมบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เน้นวิธีการทำงานตามปัญหาและ
ความต้องการด้านสุขภาพประชากร โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
และภาคี เครือข่าย
ผู้รับผิดชอบโครงการ : นางจุรีรัตน์ วรนุช นักวิชาการสาธารณสุข (ด้านบริการทางวิชาการ)
ชำนาญการ