การสร้างวินัย เพื่อพัฒนาเด็ก
ระเบียบวินัย
เป็นโครงสร้างที่ผู้ใหญ่กำหนดขึ้นสำหรับเด็กเพื่อให้เด็กเรียนรู้ว่าสิ่งใดที่เขาสามารถทำได้เป็นพื้นฐาน
ในการพัฒนาการควบคุมตนเองของเด็กภายใต้เงื่อนไขที่เด็กเลือกแสดงพฤติกรรมให้เหมาะสมและ
เป็นที่ยอมรับของผู้อื่นเพื่อให้เด็กสามารถใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพและอยู่ในโลกของความเป็นจริงได้
อย่างมีความสุข ระเบียบวินัยเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม
ทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะเคารพสิทธิของผู้อื่นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่จำเป็นต้องอธิบายแต่เด็กก็สามารถ
เรียนรู้ได้จากการกระทำของผู้ใหญ่และเรียนรู้ด้วยตนเองว่าสิ่งใดทำไปแล้วจะเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น
และเข้าใจในทันทีว่าเขาควรจะเชื่อฟังและปฏิบัติตามหรือไม่เช่นคำว่า “อย่า” “ทำสิ่งนี้ไม่ได้” เพราะเคยได้รับคำห้ามจากผู้ใหญ่เกี่ยวกับอันตรายมาก่อน
นอกจากนี้ยังเรียนรู้ว่าหากยังคงปฏิบัติต่อไป เขาอาจจะต้องถูกลงโทษเด็กส่วนใหญ่ต้องการให้ผู้ใหญ่ควบคุมความประพฤติของเขา แต่ไม่ใช่ด้วยกา
รข่มขู่หรือทำร้ายร่างกาย
ฝึกวินัยเพื่ออะไร
1. เพื่อสามารถแสดงออกภายใต้ขอบเขตที่เหมาะสม
2. เพื่อเรียนรู้สิทธิความเป็นส่วนตัวทั้งของตนเองและผู้อื่น
3. เพื่อเรียนรู้หน้าที่และความรับผิดชอบ
4. เพื่อพัฒนาการควบคุมตนเองให้ดีขึ้น
เด็กทุกคนต้องการได้รับการฝึกพัฒนาทักษะและวุฒิภาวะด้านอารมณ์ แต่ไม่ใช่วิธการตามใจโดยปราศจากขอบเขตของพ่อแม่ ทั้งนี้
เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพให้มีความสมดุล เด็กที่ถูกเลี้ยงโดยขาดวินัยหากไม่ได้รับการช่วยเหลือแก้ไขจะเติบโตด้วยความไม่มั่นใจเพราะนอกจาก
ไม่สามารถควบคุมตนเองแล้ว ยังไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใดควรทำและไม่ควรทำจะมีการตัดสินใจที่ช้ามีความอดทนน้อยไม่สามารถยอมรับความผิดพลาดได้
วิธีปฏิบัติเพื่อให้เด็กร่วมมือในการฝึก
1.ควรมีวิธีการสื่อสารกับลูกให้ชัดเจน ด้วยการใช้คำพูดตรงไปตรงมาเกี่ยวกับกฎระเบียบของบ้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องรับรู้โดยไม่มีข้อโต้แย้ง
เช่น “ลูกทุกคนต้องมาพร้อมกันที่โต๊ะอาหารตอน 6 โมงเย็น” “เด็กๆไม่ควรเข้านอนเกิน 3 ทุ่ม”
2.ฝึกให้เด็กเรียนรู้ขอบเขตของตนเองเพื่อให้เรียนรู้ว่าสิ่งใดที่สามารถทำได้และสิ่งใดที่ทำไม่ได้ เช่น “ลูกโกรธได้ แต่ตีน้องไม่ได้ อาจตีหมอนหรือตุ๊กตาแทน”
3. ฝึกให้รู้จักผ่อนคลายความเครียดเพื่อหาทางออกที่เหมาะสม เช่น โกรธ-แยกอยู่สงบ ลำพัง ฝึกหายใจลึกๆค่อยๆผ่อนลมหายใจ
4.ฝึกให้รู้จักทบทวนการกระทำของตนเองโดยเขียนลงในสมุดบันทึกในแต่ละวันหัดทำสม่ำเสมอจนเกิดเป็นทักษะ หัดทำสม่ำเสมอจนเกิดเป็นทักษะ
5.ฝึกให้ใช้การกระทำแทนคำพูดอย่างเดียวด้วยการสัมผัสเพื่อกำหนดพฤติกรรม “ลูกไม่มีสิทธิไปหยิบอาหารจากจานของผู้อื่นหยิบได้เฉพาะในจานของลูก
เท่านั้น” พร้อมทั้งดึงมือเด็กกลับมาที่จานของเด็กเอง
6. ฝึกให้รู้จักควบคุมอารมณ์ด้วยการแยกอยู่ลำพัง โดยให้นั่งอยู่บนเก้าอี้ที่มุมใดมุมหนึ่ง ของห้อง
7.ฝึกให้เรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตนเองอาจใช้วิธีเล่นสมมติเหตุการณ์นั้นๆ เป็นการฝึกซ้อมและสามารถแก้ไขได้ทันทีที่ปัญหาเกิดขึ้นจริง
8. ฝึกให้อยากทำดีมากขึ้น ด้วยการให้รางวัลตอบแทนเมื่อเด็กทำดี เช่น แสดงสีหน้าชื่นชม, ลูบหัว, กอด, พูดชม ฯลฯ
9.ฝึกให้มีการตกลงร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นได้ ถ้าสามารถทำได้ตามข้อตกลง มีสิทธิเลือกทำในสิ่ง ที่ชอบ
การฝึกวินัยให้ได้ผลขึ้นอยู่กับ
1.ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ข้อห้ามใดๆก็ตาม ต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอไม่ใช่ขึ้นลงตามอารมณ์ของผู้ใหญ่ในแต่ละวัน
2.ปฏิบัติด้วยท่าทีหนักแน่นจริงจังและเด็ดขาด พ่อแม่ต้องจริงจังทั้งสีหน้าและท่าทางเพื่อน้ำเสียงสื่อว่าการกระทำนั้นไม่เป็นที่ยอมรับของผู้ใหญ่
3.ปฏิบัติต่อเด็กด้วยการกระทำมากกว่าการใช้คำพูดอย่างเดียว เช่น เมื่อเรียกเด็กไม่มาควรลุกขึ้นไป จูงมือมาทันที โดยไม่ต้องเรียกซ้ำแล้วซ้ำอีก
4.พฤติกรรมของเด็กแต่ละวัยต้องพิจารณา ตามความเหมาะสม เด็กโตสามารถนั่งรับประทานอาหารได้เรียบร้อยโดยไม่ลุกจากโต๊ะ เด็กเล็กยังนั่งติด
ที่ไม่ได้นาน ดังนั้นเมื่อเด็กรับประทานอาหารเสร็จอาจอนุญาตให้ลุกจากโต๊ะได้ก่อน
5.การร่วมมือของผู้ใหญ่เพื่อที่จะแก้ไข ผู้ใหญ่ทุกคนต้องร่วมกันแก้ไข มีความเห็นตรงกันไม่ขัดแย้งต่อหน้าเด็กในการวางขอบเขตให้กับเด็กต้อง
การความมั่นคงสม่ำเสมอและเอาจริงของผู้ใหญ่เพื่อเด็กเรียนรู้ที่จะเดินตามกฎเกณฑ์ของพ่อแม่โดยการเฝ้าดูพ่อแม่เป็นแบบอย่าง
โดยการเฝ้าดูพ่อแม่เป็นแบบอย่างในการประพฤติและสามารถรับบทบาทของพ่อแม่มาเป็นของตนเองในเวลาต่อมาฉะนั้นบทบาทของพ่อแม่จึงมีอิทธิพลอย่าง
สูงต่อพัฒนาการของลูกเพื่อที่จะก้าวไปสู่การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์