พิษที่มาจากความร้อน
ที่มา: คู่มือ+ข้อมูลช่วยชาติ ลดขยะ พลาสติกและโฟม | |
จัดพิมพ์และเผยแพร่: | กองส่งเสริมและเผยแพร่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม www.deqp.go.th |

- พลาสติกที่เราต้องใช้แทบทุกวัน คือผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ใส่หรือบรรจุอาหาร แต่ที่เราใช้กันมากที่สุด และบ่อยที่สุด ก็คือ ถุงพลาสติก กับกล่องโฟม
- ดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ ใครๆ ก็ใช้ถุงพลาสติก ใครๆ ก็ใช้กล่องโฟม แต่เราควรใช้ให้ถูกวิธี จะได้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- เมื่อถุงพลาสติก/กล่องโฟม สัมผัสอาหารที่ร้อนจัดๆ คือร้อนกว่าจุดหลอมเหลวของพลาสติกที่ใช้ทำถุงนั้น บางส่วนของพลาสติกจะหลอมตัวหลุดออกมา
จากผิวของถุง พอเย็นลงพลาสติกที่หลอมตัวหลุดออกมานั้น ก็จะจับตัวแข็ง และสารเคมีสารเคมีสารพัดในพลาสติกและโฟม ก็อาจปะปนกับอาหารที่เรากินเข้าไป
เป็นพิษสะสมในร่างกาย นานๆ ไปจะเกิดเป็นโรคอะไร เมื่อไรก็ไม่รู้
- ไม่ควรใช้ถุงพลาสติกอุ่นอาหารในเตาไมโครเวฟ ถ้าจำเป็นต้องใช้ 1-2 นาทีเท่านั้น และต้องเปิด หรือเจาะถุง เพื่อป้องกันไอน้ำดันถุงระเบิด
- อาหารทอด อาหารที่ผัดด้วยน้ำมัน หรืออาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ๆ ร้อนกว่าจุดหลอมเหลวของพลาสติกที่ใช้ทำกล่องโฟม หรือถุงพลาสติก
ทางที่ดี เวลาจะใส่อาหารร้อน ก็ใช้เฉพาะถุงร้อน หรือ จาน ชาม ภาชนะต่างๆ ที่ทำขึ้นสำหรับอาหารร้อนเท่านั้น
ห้ามใช้กล่องโฟมอุ่นอาหารในเตาไมโครเวฟ
ห้ามใส่อาหารที่ร้อนจัด ในภาชนะโฟม และกล่องโฟม
ห้ามใช้กล่องโฟมอุ่นอาหารในเตาไมโครเวฟ
ห้ามใส่อาหารที่ร้อนจัด ในภาชนะโฟม และกล่องโฟม

- ถุงพลาสติกที่นิยมใช้มี 2 ประเภท
ถุงเย็น ทำจากโพลีเอทิลีน (PE)
ถุงร้อน ทำจากโพลีโพรพิลิน (PP) - ถุงเย็น ไม่เหมาะสำหรับใส่อาหารที่มีความร้อนสูง เพราะมีจุดหลอมเหลวอยู่ที่ประมาณ 70-80oC เท่านั้น แต่ถุงชนิดนี้นิยมใช้กันมาก
- เพราะกันความชื้นได้ดี และมีราคาถูก
- ถุงร้อน (ส่วนมากเป็นถุงใสแวววาว) สามารถทนความร้อนได้ถึงประมาณ 110-120oC
- จุดเดือดของน้ำมัน สูงกว่าจุดเดือดของน้ำ (100oC) และสูงกว่าจุดหลอมเหลวของ PS และ PE
- กล่องโฟม ที่ทำจากพลาสติกจำพวกโพลีสไตรีน (PS) ทนความร้อนได้เพียง 70-80oC เท่านั้น
ที่มา: คู่มือ+ข้อมูลช่วยชาติ ลดขยะ พลาสติกและโฟม | |
จัดพิมพ์และเผยแพร่: | กองส่งเสริมและเผยแพร่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม www.deqp.go.th |
ที่มาจาก : http://www.ethicalwastemanagement.org/knowledge/toxin-from-heat